มาดูบล็อกเรานะ

บทที่ 2


หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต



1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในอดีตจะใช้วิธีบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์และส่งไปยังปลายทางโดยอาศัยผู้ส่งดิสก์ เรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีคนเป็นสื่อ รับ-ส่ง ข้อมูล
1.1 ความหมายขององค์ประกอบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันโดยใช้สื่อกลางต่างๆ เช่น สายสัญญาณ คลื่นวิทยุ เป็นต้น เพื่อทำให้สามารถสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้ทรัพยากรร่วมกันไก้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 6 ประเภท
1. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลนด์
2. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน
3. เครือข่ายบริเวณกว้าง หรือแวน
4. เครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต
5. เครือข่ายภายนอกองค์กร หรืเอ็กทราเน็ต
6. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบพื้นฐาน 2 ส่วนหลัก คือ องค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ และองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ โดยองค์ประกอบด้านฮาร์ดแวร์ หมายถึง
อุปกรณ์ที่ใช้งานและเชื่อมต่อภายในเครือข่าย เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์
สายสัญญาณ เป็นต้น ส่วนองค์ประกอบด้านซอฟต์แวร์ หมายถึง ระบบปฏิบัติการ
หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้สนับสนุนการทำงานและให้บริการด้านต่างๆ เพื่ออำนวย
ความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ให้สามารถติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายได้
1.2 การเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
การติดตั้งเครือข่ายขนาดเล็ก มีจุดประสงค์เพื่อใช้งานภายในบ้านหรือในสำนักงาน
ขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น ข้อมูล เครื่องพิมพ์ สแกนเนอร์
เป็นต้น
1. อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีหลายชนิด ได้แก่ การ์ดแลน ฮับ สวิตซ์
โมเด็ม เราเตอร์ สายสัญญาณ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้
1.1 การ์ดแลน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ ที่รับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์
เครื่องหนึ่ง ไปสู่คอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านสายแลน
1.2 ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เสมือนกับชุมทางข้อมูล หน้าที่เป็นตัวกลางคอยส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย และเป็นตัวกระจายสัญญาณ


1.3 สวิทช์ เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณเช่นเดียวกับฮับ แต่ต่างจากฮับ คือ
การรับส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งนั้นจะไม่กระจายไปยังทุกเครื่อง เนื่องจากสวิทช์
จะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นข้อมูลเครื่องใด แล้วส่งข้อมูลนั้นไปยังปลายทาง
อย่างอัตโนมัติ
1.4 โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณเพื่อใหสามารถส่งผ่านสายโทรศัพท์ หรือใยแก้วนำแสงได้
1.5 อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือ เราเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย
หลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน การส่งข้อมูลจึงมีหลายเส้นทาง และทำหน้าเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการส่งผ่านข้อมูล เพื่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
1.6 สายสัญญาณ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล
2. การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบหลักๆ คือ การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้ การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล
2.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะใกล้
หากมีคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายไม่เกินสองเครื่อง อุปกรณ์ในระบบเครือข่ายนอกจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ยังต้องมีการ์ดแลนด์และสายสัญญาณ โดยไม่ต้องใช้ฮับและสวิตซ์
การตัดสินใจซื้อ ฮับและสวิตซ์ มาใช้จะต้องคำนึงถึงเรื่องการขยายระบบเครือข่ายในอนาคตด้วย ควรเลือกฮับและสวิตซ์ที่สามารถรับรองจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับจำนวนที่คาดว่าจะมีในอนาคต

2.2 การเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล จากข้อจำกัดของเครือข่ายที่ใช้สายแลนด์ที่ไม่สามารถเดินสายให้มีความยาวมากกว่า 100 เมตรได้ จึงต้องหาทางเลือกสำหรับระบบ เครือข่ายระยะไกล
ในกรณีที่เครือข่ายมีการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก ควรเลือกใช้เราเตอร์เพื่อช่วยลดปัญหาความหนาแน่นของข้อมูลในเครือข่าย แต่เนื่องจากเราเตอร์มีราคาแพงจึงต้องประเมินความคุ้มค่าหากต้องการจัดซื้อมาใช้งาน
แบบที่ 1 คือ ต้องติดตั้งเครื่องทวนสัญณาณ ไว้ทุกๆระยะ 100
แบบที่ 2 คือ ใช้โมเด็มหมุนโทรศัพท์เข้าหากันเมื่อต้องการเชื่อมต่อ และเมื่อเสร็จสิ้นธุรกิจแล้วก็ยกเลิกการเชื่อมต่อ แต่ความเร็วที่ได้จะได้แค่เพียงความสามารถของสายโทรศัพท์
แบบที่ 3 คือ เป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบันสายสัญญาณที่เลือกใช้คือสายใยแก้วนำแสง สามารถส่งข้อมูลได้ระยะทางไกลและมีความเร็วสูง รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูล
แบบที่ 4 คือ ใช้จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สัญาณวิทยุทางอากาศแทนการใช้สายโทรศัพท์ เพื่อลดปัญหาจากการใช้สายสัญญาณ เหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่ที่มีขนาดจำกัด
แบบที่ 5 คือ เทคโนโลยี G.SHDSL ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีตระกูล DSL เป็นเทคโนโลยีโมเด็มที่ทำให้คู่สายทองแดงธรรมดากลายเป็นสื่อสัญญาณดิจิทัลความเร็วสูง โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณข้อมูล ในย่านความถี่ที่สูงกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยทั่วไป ทำให้สามารถส่งข้อมูลในขณะเดียวกันกับการใช้งานโทรศัพท์ได้
แบบที่ 6 คือ เทคโนโลยีแบบ ethernet overVDSLเป็นเทคโนโลยีระบบเครือข่ายแบบล่าสุดที่สามารถติดตั้งใช้งานได้เอง จึงทำให้มีต้นทุนต่ำโยสามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ทั่วไป
1.3 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ของระบบเครือข่ายขนาดเล็ก
สามารถเลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย( Network OS ) เป็นระบบปฎิบัติการสำหรับออกแบบและจัดการงานด้านการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ ปัจจุบันระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ คือการจัดการข้อมูลและโปรแกรมทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์และส่วนประกอบอื่นๆของระบบปฎิบัติการเครือข่ายจะทำงานอยู่บนเครื่องไคลเอนด์ เช่นการประมวลผล การติดต่อกับผู้ใช้ เป็นต้น
ปัจจุบันซอฟต์แวร์สำหรับระบบเครือข่ายขนาดเล็ก มีให้เลือกใช้งานหลายโปรแกรม เช่น
1. ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ เซ็นต์โอเอส เรียกย่อว่า CentOS เป็นซอฟซ์แวร์เปิดเผยโค้ด ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไปใช้งาน หรือแก้ไขได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ผู้ดูแลระบบต้องเรียนรู้ระบบก่อนใช้งาน สามารถเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ
2. ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็น Windows Server 2008 ออกแบบเพื่อสนับสนุนระบบเครือข่าย แอพพลิเคชั่นและบริการอื่นๆ ที่มีความทันสมัยบนเว็บไซต์ และยังเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน เช่น ระบบเครื่องมือเว็บ เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน เพิ่มคุณภาพความปลอดภัย เครื่องมือจัดการช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรอื่นๆ ได้มากขึ้น โดยมีคุณสมบัติดังนี้
1.สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับภาระงานของเซิร์ฟเวอร์
2.เวอร์ชวลไลเซชัน ซึ้งเป็นเทคโนโลยีการสร้างระบบเสมือนจริงที่มีรากฐานจากระบบ
3. มีระบบการจัดการดูแลเว็บ ระบบวิเคราะห์ปัญหา เครื่องมือพัฒนา
4.ระบบความปลอดภัย ได้รับการพัฒนาให้มีความทนทานมากขึ้น พร้อมทั้งผสานการใช้เทคโนโลยีด้าน IDA หลายชิ้น
2. อินเทอร์เน็ต
2.1 ความหมายและพัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
การใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อกันโดยผ่านสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น สายโทรศัพท์ ดาวเทียม เป็นต้น
2.2 การใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเตอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท ดังต่อไปนี้
1.ไปรษณีย์อิเล็กทอนิกส์ หรือ อีเมล 2.เมลลิงลิสต์
3.การสื่อสารในเวลาจริง 4. เว็บไซด์เครือข่ายสังคม
5. บล็อก 6. วิกิ
7 . บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล 8. การโอนย้ายข้อมูล
9. บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร10. เวิลด์ไวด์เว็บ
11.พาณิชอิเล็กทอนิกส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น